การต่อเติม ควรคำนึงถึง ทางเดิมลม

ปัญหานี้มีให้เห็นในบ้านแถวและทาวน์เฮ้าส์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังพบในบ้านเดี่ยวที่มีขนาดที่ดินเล็ก สำหรับบ้านแถว ทาวน์เฮ้าส์ การต่อเติมที่ทำกันเกือบทั้งประเทศ คือ การต่อเติมพื้นที่ว่างด้านหลังที่มีอยู่ประมาณ 2-3 เมตร เป็นห้องใช้สอยจนเต็มพื้นดิน ห้องครัวเป็นพื้นที่ใช้สอยยอดนิยมในการต่อเติมออกไป ปัญหาที่เกิดขึ้นของการต่อเติมอย่างที่ว่านี้ ก็คือ ไม่มีลมถ่ายเทเข้ามาภายในบ้าน เนื่องจากมีแต่ทางให้ลมเข้าด้านหน้า แต่ไม่มีทางให้ลมออกด้านหลัง เพราะต่อเติมเสียจนเต็มพื้นที่ แม้ว่าด้านหน้าจะโล่งไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมแต่อย่างใด

สำหรับปัญหาเรื่องของการต่อเติมผิดกฎหมาย เกิดการแตกร้าว มีการทรุดตัวแยกกัน รวมไปถึงความไม่ปลอดภัย (เนื่องจากไม่มีทางหนีไฟด้านหลัง) ผลก็คือ ความร้อนที่ถ่ายเทเข้ามาภายในตัวบ้าน ทั้งจากผนังหลังคา ไม่ได้ถูกระบายออกไป ความร้อนก็เลยสะสม อากาศภายในชั้นล่างก็อบอ้าว เมื่อจำเป็นต้องใช้งานแล้วทนร้อนไม่ไหว สุดท้ายก็ต้องติดเครื่องปรับอากาศ

แนวทางแก้ไข


ขอแนะนำเป็นทางแก้สำหรับบ้านที่บังเอิญมีที่ดินเพียงพอที่สามารถจะทำการต่อ เติมได้โดยไม่ผิกกฎหมายเท่านั้น (คือได้รับอนุญาตให้ต่อเติม หรือปรับปรุงจากทั้งราชการนั่นเอง) หลักของการต่อเติมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาของการอับลมอย่างที่ว่านี้ก็คือ ให้คิดตลอดเวลาว่า พื้นที่ของบ้านทุกส่วนต้องมีทางให้ลมเข้า-ออกได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเป็นการเว้นให้บ้านมีพื้นที่โล่งหายใจได้แล้ว ยังได้แสงธรรมชาติและช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย


ข้อพิจารณาและต้องคำนึง


นอกจากเรื่องการอับลมแล้ว การต่อเติมควรต้องคำนึงถึงปัญหาการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของตัวบ้านเดิมและ ของส่วนต่อเติมใหม่ โดยหลังสำคัยจะต้องไม่เชื่อมส่วนต่อเติมใหม่เข้ากับตัวบ้านเดิมเข้ากัน หรือมีส่วนตกแต่งที่คาบอยู่ระหว่างรอยต่อของตัวบ้านเดิมกับส่วนต่อใหม่ เช่น วัสดุปูผนัง หรือ ฝ้า เพดาน ฯลฯ กล่าวคือ โครงสร้างและส่วนตัวบ้านเดิมกับส่วนต่อเติมใหม่จะต้องตัดขาดแยกจากกัน เนื่องจากในอนาคตการทรุดตัวของโครงสร้างทั้งสองจะไม่เท่ากัน

เจ้าของบ้านพึงทราบไว้ว่า การต่อเติมอาคารบ้าน เปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยมากจะต้องมีการขออนุญาตต่อหน่าวยงานราชการ (มีน้อยมากที่ไม่ต้องขออนุญาต) ดังนั้นควรตรวจสอบก่อนให้ชัดเจนจะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย

เจาะช่องระบายอากาศให้ลมเดิน


หากดำเนินการต่อเติมไปแล้ว แต่ด้านหลังไม่มีทางลมออก ก้ต้องเจาะช่องผนังบ้านเพื่อทำเป็นช่องระบายอากาศ ในด้านที่รับกระแสลมหรือทิศทางตรงข้ามกับช่องระบายอากาศด้านหน้าที่มีอยู่ จะมีผลทำให้กระแสลมสามารถพัดเข้า-ออก ทำให้อากาศหมุนเวียนในบ้านเกิดภาวะอยู่สบายมากขึ้น
 
ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น